- Filter by
- All 07
- Government 01
- Highlight 01
- Hospitality 01
Checkgon เช็กก่อน
Checkgon (เช็กก่อน) แพลตฟอร์มสำหรับเช็กบัญชีมิจฉาชีพและตรวจสอบบัญชีผู้ซื้อ/ผู้ขาย เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และป้องกันการถูกโกงออนไลน์สำหรับคนไทยทุกคน โดยประชาชนสามารถเข้ามาแจ้ง ร้องเรียน หรือใช้งานระบบแชทซื้อขายปลอดภัยได้ในเว็บไซต์ ความท้าทายที่เจอ ดำเนินการสร้างแพลตฟอร์มที่อ้างอิงความต้องการผู้ใช้งาน โดยเป็นไปตามเงื่อนไขของกฏหมายที่รัดกุม ต้องมีการจัดการเรื่องข้อมูลที่จะประชาชนตรวจสอบ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ต้องมีการเข้าถึงระดับนโยบายเพื่อให้เกิดความเข้าถึงและความร่วมมือที่มากที่สุด แนวทางการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยี ร่วมวางแผน และ ผลักดันนโยบายกับหน่วยงานภาพรัฐอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการขอความร่วมมือ (Digital Transformation) ทำการวิจัยและสัมภาษณ์ผู้ใช้งานและหัวหน้างาน ถึง Insight, ความต้องการ และ ข้อจำกัด (Research and Business Analysis) ประสานงานการนำเข้าข้อมูลมิจฉาชีพจากหลายช่องทางที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้เกิดระโยชน์กับประชาชนมากที่สุด รวมถึงระบบยืนยันตัวตน (Integrate) ออกแบบและพัฒนาแพลตฟอร์มเว็บไซต์เพื่อความง่ายในการใช้งาน และ ปรับปรุงให้อยู่ภายใต้กรอบของข้อกฏหมาย (Software Development) ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ ระบบหลังบ้านให้ง่ายต่อเจ้าหน้าที่ในการบริหารข้อมูลจำนวนมาก (Software Development) ดำเนินการจัดการระบบการเข้ารหัส และ ความปลอดภัยในด้านต่างๆของระบบ (Security) จัดทำระบบสถิติ เพื่อให้เห็นความเคลื่อนไหวของการโกงออนไลน์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่วางกลยุทธ์จัดการมิจฉาชีพได้ง่ายยิ่งขึ้น (Dashboard and Data Analytic) ออกแบบการสื่อสารให้มีความหมายที่ชัดเจน เข้าใจง่ายโดยไม่จำเป็นต้องมีความสามารถทางการอ่านเขียนมาก (Visual Hirachy and Accessibility) ปรับปรุงการใช้งานให้ราบรื่นกับผู้ใช้งานที่เป็นประชาชนทุกช่วงวัย (User Experience) และอื่นๆ ผลลัพธ์ของความพยายาม แพลตฟอร์ม Checkgon โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีการจัดงานเพื่อแถลงข่าวเนื่องในโอกาสมอบของขวัญให้ประชาชนในวันปีใหม่ 2567 โดยนายกรัฐมนตรี หลังจากเปิดตัว 3 เดือนแรกมีประชาชนเข้ามามาตรวจสอบบัญชีเพื่อป้องกันมิจฉาชีพมากกว่า 35,000+ ครั้ง ปัจจุบันมีผู้ใช้งานเว็บไซต์โตขึ้นกว่า 200%+ เทียบจากเดือนแรกที่เปิดตัว เว็บไซต์ในปัจจุบันมีผู้เข้ามาลงทะเบียนและแจ้งคนโกงอย่างสม่ำเสมอ หลังจากโครงการสำเร็จ ทางองค์กรได้มีการพูดคุยและวางแผนพัฒนาถึงการร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆทั้งภาครัฐและเอกชน ในการต่อยอดเพื่อประโยชน์ที่มากขึ้นกับประชาชนกว่าเดิมต่อไปเรียบร้อยแล้ว
AKARA Hospitality
เว็บไซต์องค์กร AKARA Hospitality เป็นการริเริ่มการเข้าสู่ความเป็น Digital จากเว็บไซต์ที่อธิบายภาพรวมธุรกิจ รวมถึงธุรกิจในเครือ เพื่อให้ข้อมูลและส่งเสริมภาพลักษณ์ให้ดึงดูดลูกค้าใหม่ๆทั้งไทยและต่างประเทศให้เข้าถึงบริการขององค์กรได้มากขึ้น ความท้าทายที่เจอ บริษัทมีข้อมูลที่หลากหลาย ทั้งธุรกิจหลักและธุรกิจในเครือ ทีมงานในองค์กรยังมีประสบการณ์เรื่องระบบและ Digital ไม่มาก ต้องการถ่ายถอดตัวตนของแบรนด์ออกไปให้ชัดเจนที่สุด โดยที่ประสบการณ์การใช้งานยังดีอยู่ แนวทางการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยี วางแผนแนวทางการนับเทคโนโลยีมาปรับใช้ในแต่ละ Stage ของธุรกิจ (Digital Transformation) ทำการวิจัยและสัมภาษณ์กับผู้บริหารและทีมงาน ถึง Insight และ ความต้องการของธุรกิจ (Business Analysis) Re-brand ภาพลักษณ์ของเว็บไซต์ให้มีความรู้สึกถึงตัวตนของแบรนด์มากที่สุด (Branding) ยกเครื่องออกแบบโครงสร้างข้อมูลใหม่ทั้งหมด เพื่อความง่ายในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเจอโดยใช้เวลาน้อยที่สุด (Information Architecture) ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ ให้รองรับการเพิ่มขึ้นของข้อมูลที่หลากหลายแต่ยังให้ประสิทธิภาพที่ดีอยู่ (Software Development) ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ ระบบหลังบ้านให้ง่ายต่อเจ้าหน้าที่ในการมาอัพเดทข้อมูล (Software Development) ทดสอบกับผู้ใช้งาน เพื่อดูจุดติดขัดและแก้ไขประสบการณ์ให้ราบรื่นขึ้น (Experience Design) จัด Session ให้ความรู้เรื่องกระบวนการนำระบบไปต่อยอดกับ Digital Marketing (Workshop) ผลลัพธ์ของความพยายาม เพิ่ม Leads ให้กับแบนรด์ได้มากขึ้นจากทั้งชาวไทยและ ต่างประเทศ ที่จะมาเป็นลูกค้าในอนาคต มีการเข้าถึงแบรนด์ที่มากขึ้นกว่า 100%+ หลังจากที่เปิดตัวเว็บไซต์ ในบ้างร้าน มีลูกค้าส่งคำขอมาจองโต๊ะผ่านเว็บไซต์ มากกว่า 3,000+ ที่นั่งใน 4 เดือน เมื่อโครงการนี้เกิดขึ้น ทางองค์กรได้มีแผนต่อยอดในการทำ Digital Transformation ต่อไปทันที
GSCM @NIDA
เว็บไซต์คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า NIDA) ออกแบบและพัฒนาระบบใหม่ทั้งหมด รวมถึงระบบการจัดการข้อมูลหลังบ้าน เพื่อให้ทั้งผู้สนใจและผู้เรียนสามารถหาข้อมูลคณะที่ต้องการเจอได้ง่ายๆแค่ไม่กี่คลิก และ เจ้าหน้าที่ทำการบริหารจัดการสะดวกที่สุด โดยที่ไม่ต้องเทรนเยอะ ความท้าทายที่เจอ โครงสร้างข้อมูลมีความซับซ้อนมาก และมีรูปแบบข้อมูลที่หลากหลาย ภาพลักษณ์ไม่ค่อยสื่อถือการเป็นนวัตกรรม อาจจะทำให้ผู้สนใจน้อยลง ผู้ใช้งานหาข้อมูลเจอได้ยากมาก แนวทางการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยี ทำการวิจัยและสัมภาษณ์กับผู้ที่กำลังจะสมัครเรียน และ ผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ถึงจุดติดขัดในการค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์เก่า (Research) Re-brand ภาพลักษณ์ของเว็บไซต์ให้มีความรู้สึกถึง Innovation มากยิ่งขึ้น (Branding) ยกเครื่องออกแบบโครงสร้างข้อมูลใหม่ทั้งหมด เพื่อความง่ายในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเจอโดยใช้เวลาน้อยที่สุด (Information Architecture) ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ รวมถึงปรับตั้งค่าให้มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด (Software Development) ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ ระบบหลังบ้านให้ง่ายต่อเจ้าหน้าที่ในการมาอัพเดทข้อมูล (Software Development) ทดสอบกับผู้ใช้งาน เพื่อดูจุดติดขัดและแก้ไขประสบการณ์ให้ราบรื่นขึ้น (Experience Design) ผลลัพธ์ของความพยายาม ภาพรวมข้อผู้ใช้งานประเมินว่ามีการใช้งานที่ดีขึ้น และ หาข้อมูลเจอได้ง่ายขึ้นจริง ภาพลักษณ์สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของคณะชัดเจนมากยิ่งขึ้น มีผู้สนใจในหลักสูตร และมีแนวโน้มในการสมัรเรียนมากยิ่งขึ้น
MEA EV & Management System
แอพพลิเคชั่นสำหรับตอบโจทย์ผู้ขับรถยนต์ไฟฟ้า(EV) เพื่อความง่ายในการหา จอง จ่าย และชาร์จไฟฟ้า สำหรับสถานีชาร์จไฟในเครือการไฟฟ้านครหลวง (MEA) และระบบจัดการสถานี โดยมีเป้าหมายในการผลักดันพลังสะอาดให้เติบโตในประเทศไทย ความท้าทายที่เจอ อุตสากรรมมีความใหม่มากจึงจำเป็นที่ต้องเข้าใจหลายๆแง่มุม รวมไปถึงความต้องการที่หลากหลาย จำเป็นต้องออกแบบเพื่อรองรับข้อจำกัดและเงื่อนไขที่ซับซ้อนของธุรกิจในแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรต้องการผลักดันให้มีผู้มาเปิดสถานีชาร์จที่มากขึ้น แนวทางการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยี ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ และ ออกแบบกระบวนการการทำงานร่วมกันเพื่อให้โครงการราบรื่น (Digital Transformation) ร่วมวางแผน Business Model กับองค์กรให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่นำมาใช้ (Strategy) ร่วมออกแบบกับผู้ที่อาจเป็นลูกค้าที่จะมาลงทุนสถานีชาร์จกับ MEA เพื่อหาความต้องการที่แท้จริง (Research) ทำ Workshop และ จัด Session ให้ความรู้เรื่องกระบวนการนำ Digital มาปรับใช้กับองค์กร (Workshop) นำเทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวกผู้ใช้งานในแอพพลิเคชั่น เช่น Map, Payment, IoT ทดสอบกับผู้ใช้งาน เพื่อดูจุดติดขัดและแก้ไขประสบการณ์ให้ราบรื่นขึ้น (Experience Design) ผลลัพธ์ของความพยายาม ผู้ใช้งานบอกว่าพวกเขาแพลนทริปเพื่อชาร์จไฟฟ้าได้ง่ายขึ้นจากแอพพลิเคชั่นนี้ มีลูกค้ามาลงทะเบียนเปิดสถานีชาร์จกับทาง MEA หลังโครงการนี้เกิดขึ้น MEA ได้มีการดำเนินการต่อเนื่องกับโครงการนี้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นต่อไป
Food & Beverage POS
ระบบจัดการการขายหน้าร้าน (POS) สำหรับร้านอาหาร,ผับ และ บาร์ เพื่ออำนวยความสะดวกลูกค้าและพนักงานทั้งหน้าบ้านและหลังบ้าน ในการจัดการโต๊ะ และ ออเดอร์ต่างๆ รวมไปถึงการจ่ายเงินและระบบลูกค้า เพื่อรองรับจำนวนลูกค้าที่มากขึ้นโดยที่ยังคงประสิทธิภาพที่ดีอยู่ ความท้าทายที่เจอ ระบบ POS เดิมมีความความซับซ้อนสูงที่ถูกใช้งานจนชิน แต่คนใหม่ต้องเรียนรู้เยอะ หน้างานต้องเน้นความรวดเร็วในการจัดการ ระบบจะมาเป็นตัวถ่วงไม่ได้ สถานการณ์จริงจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นสูงทำให้ต้องออกแบบเพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าว แนวทางการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยี ศึกษากระบวนการดั้งเดิม และหาจุดที่จะสามารถปรับปรุงได้โดยที่ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่รับไม่ได้ (Business Analysis) ออกแบบลดทอนความซับซ้อนจากระบบ POS ดั้งเดิมที่ยากที่จะเรียนรู้ ให้มี Learning Curve ที่ต่ำลง (Process Improvement) ใช้วิธีการให้ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมออกแบบและแชร์สถานการณ์จริงแบบใกล้ชิด (Expertise Review) ออกแบบโดยคำนึงถึงเรื่อง Accessibility ในการใช้งาน เพื่อให้กดบนหน้าจอที่เล็กได้ง่าย และไม่ผิดพลาดในเวลาเร่งรีบ (Experience Design) ทดสอบกับผู้ใช้งาน เพื่อดูจุดติดขัดและแก้ไขประสบการณ์ให้ราบรื่นขึ้น (Experience Design) ผลลัพธ์ของความพยายาม ได้รับการประเมินจากคำชมว่า “ใช้งานง่าย” ประหยัดเวลาพนักงานในการเรียนรู้ระบบได้มากขึ้น และ ต่อยอดได้ง่าย ลูกค้าร้านอาหารบางคนตัดสินใจซื้อทันทีที่เห็นระบบตัวนี้
MEA Connext
แอพพลิเคชั่นอำนวยความสะดวกในการทำงานแบบครบวงจร สำหรับพนักงานการไฟฟ้านครหลวง(MEA) เพื่อเพิ่มความราบรื่นและความสุขในการทำงาน รวมถึงลดความฟุ่มเฟือยของกระบวนการ และ ลดการใช้กระดาษเพื่อโลกที่สวยงามขึ้น ความท้าทายที่เจอ ทำให้ชีวิตการทำงานของพนักงานทุกระดับชั้นดีขึ้น ต้องออกแบบกระบวนการใหม่ที่มีประสิทธิภาพแต่ไม่ขัดกระบวนการเก่าที่ทำกันมาตั้งแต่ดั้งเดิม รองรับผู้ใช้งานที่หลากหลายตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงวัยเกษียณ แนวทางการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยี ศึกษากระบวนการดั้งเดิม และหาจุดที่จะสามารถปรับปรุงได้โดยที่ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่รับไม่ได้ (Business Analysis) วิจัยเพื่อหาความต้องการที่แท้จริงของพนักงานในทุกๆระดับ (Research) ออกแบบ และ ทดสอบกับผู้ใช้งานจริงในหลายๆช่วงอายุ และ ย้อนกลับมาปรับการพัฒนาระบบให้เป็นไปตามที่ผู้ใช้งานคาดหวังอยู่เสมอ (Software Development) นำเทคโนโลยีมาอำนวนความสะดวกในแต่ละกระบวนการที่เป็น Manual และ Paper Work (Process Improvement & Digitalization) มีการประสานงานเพื่อย้ำเป้าหมาย กำหนดนโยบาย และเทรนนิ่งผู้ใช้งาน โดยเฉพาะระดับหัวหน้าเพื่อให้เกิดการยอมรับในระบบใหม่และริเริ่มใช้งานจริงกับลูกทีม (Digital Transformation) ผลลัพธ์ของความพยายาม (ข้อมูลจากการประเมินกับพนักงานในองค์กรหลังใช้งานจริง 3 เดือน) มากกว่า 70% รู้สึกพอใจในแอพนี้มาก (6.5 เต็ม 7) พนักงานหลายคนพูดเหมือนกันว่า “ขาดแอพนี้ไม่ได้เลยจริงๆ” ประหยัดเวลา และ ลดการใช้กระดาษจำนวนมาก จากการปรับปรุงกระบวนการโดยนำเทคโนโลยีมาช่วย ทำให้พนักงานสามารถจัดการงานหลายๆอย่างได้อย่างสบายขึ้น แม้ว่าตัวของเขาจะอยู่ที่บ้านก็ตาม
LENSOD
แพลตฟอร์ม จองวงดนตรีสดออนไลน์ อันดับ 1 ของไทย ที่ช่วยผู้คนที่ต้องการดนตรีสดให้มาเจอกับวงดนตรีมืออาชีพในสไตล์ที่ใช่ได้อย่างง่ายดาย โดยเป้าหมายสูงสุดคือผลักดันให้ ‘ดนตรี’ เป็นอาชีพที่มั่นคง ความท้าทายที่เจอ เพิ่มเปอร์เซ็นต์การจองวงดนตรีใหม่มากยิ่งขึ้น ปรับปรุงให้ผู้ใช้งานเจอวงที่ใช่ได้ง่ายขึ้น โดยเปรียบเทียบและตัดสินใจได้เร็วมากขึ้น เปิดโอกาสในการเพิ่มรายได้ในช่องทางใหม่ๆ แนวทางการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยี วิจัยเพื่อหาจุดตัดสินใจของลูกค้าและศิลปินเพื่อหาจุดความต้องการที่เขาขาดไม่ได้ (Research) สร้างแพลตฟอร์มเว็บไซต์สำหรับผู้ที่ต้องการมาหาวง และ ศิลปิน โดยเน้นการใช้ง่ายและแก้ปัญหาได้จริง (Software Development) ปรับปรุงกระบวนการของทีมงานเพื่อให้สอดคล้องกับการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย (Process Improvement) พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ และ ระบบ Autumation เพื่อลดระยะการทำงานของทีม Operation เพื่อรองรับลูกค้าได้มากขึ้น (Digital Transformation) ทำ Data Analysis และ วัดผล Drop-off Rate ของทั้งกระบวนการเพื่อหาจุดอันตราย (Data Analysis) ปรับ Business Model ให้มากกว่าแค่จองวงดนตรีทั่วไป ที่สอดคล้องกับจุดแข็งและความเชี่ยสชาญของบริษัท (Strategy) ทดลอง A/B(n) Testing และทำการทดสอบกับผู้ใช้งานจริงเพื่อหาจุดที่ตอบโจทย์กับลูกค้ามากที่สุด (Testing and Validation) และอื่นๆอีกมากมาย ผลลัพธ์ของความพยายาม รายได้เติบโตเพิ่มขึ้น 30%+ จำนวนการจองเพิ่มขึ้นมากกว่า 500 การจอง (จาก 200) ในสิ้นปีนั้น ลดเวลาในการค้นหาวงของทีมงานหลังบ้านจากหลักวันเหลือ 7 นาที เพิ่มคุณภาพของ Leads และ Conversion Rate