![MVP of Product Development](https://www.theprojectone.co/wp-content/uploads/2024/07/06-1024x538.jpg)
ถูกต้องแน่นอน ที่ว่าการทำ MVP หรือ Minimum Viable Product นั้นจะต้องสร้างผลิตภัณฑ์ออกมาสู่ตลาดให้เร็วที่สุด แต่บทบาทที่แท้จริงของคอนเซ็ปท์นี้ไม่ใช่เรื่องของความเร็วในการเปิดตัว แต่เป็นความเร็วในการพิสูจน์ว่าของของเรามีคุณค่าจริงไหม
ซึ่งคำว่า ‘คุณค่า (Value)’ ที่เราต้องการจะมอบให้ลูกค้าผ่านงานหรือโปรดักส์ของเรานั้น อาจจะเกิดจากไอเดียที่อยากแก้ปัญหาซึ่งมาพร้อมกับ Solution ที่ใครฟังก็ต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘เจ๋งเลยว่ะ’ ซึ่งการที่เราลงไปทำ Research ต่างๆอาจจะตอบเราได้ในเรื่องของ Problem-Solution Fit แต่จะรู้ได้ไงว่าคุณค่านั้นจะเป็น ’คุณค่าจริงๆ’ สมชื่อ ที่ไม่ได้เป็นแค่สิ่งที่มีประโยชน์เฉยๆ
“อะไรคือคุณค่าที่คนยอมจะจ่ายเงินเพื่อได้มันมา?” ถ้าเรามองว่าจุดที่เราจะใช้วัดคุณค่าของโปรดักส์เราที่จะต้องอยู่รอดในโลกธุรกิจแบบยืนด้วยลำแข้งนี้เองได้ก็คือ ‘การที่มีคนยอมจ่ายเงินเพื่อแลกมันนี้มา’ ก็นับว่าเป็นเกณฑ์วัดสำคัญตัวนึงที่ควรจะต้องรู้ให้ได้โดยเร็วก่อนที่แรงใจและเงินทุนเราจะหมดซะก่อน
เมื่อไอเดียดูไปได้น่าสนใจ ก็มาถึงส่วนที่จะต้องมาพิสูจน์ว่าไอเดียมีโอกาสรอดในตลาดจริงๆไหม ซึ่งเราก็มักจะใช้คอนเซ็ปท์ของ MVP นี่แหละในการ ‘สร้างโปรดักส์ออกมาให้มีฟังก์ชั่นน้อยที่สุดเท่าที่จะใช้งานได้ ที่เพียงพอต่อการปล่อยออกไปเพื่อทดลองตลาด’ ซึ่งการทดลองตลาดเรียกง่ายๆก็คือการออกไปเก็บ Feedback และ หาลูกค้าที่ยอมจ่ายเงินให้กับคุณค่าของเรานั้นเอง
คุณนพพล อนุกูลวิทยา (CEO และ Co-Founder Orange Cap Innovative) ได้พูดประเด็นนี้ไว้ในคอร์ส How to Build an MVP ของ Cariber ที่ทำให้ฉุกคิดแง่มุมนี้ขึ้นมา
เพราะหลายๆครั้งเวลาเราสร้างของใหม่ๆ หรือ นวัตกรรม (Innovation) เราก็ประยุกต์แนวคิด MVP มาใช้ โดยโฟกัสไปที่ทำให้ของเสร็จเร็วที่สุดเท่านั้น แต่ถ้าเรามองลึกถึงแก่นของเรื่องนี้จริงๆ ของที่เราสร้างเป็น MVP อาจจะแค่ Presentation หรือ VDO ตัวนึง ที่ให้ลูกค้าเห็นภาพคุณค่าที่เราจะมอบให้ได้ชัดเจนพอที่จะยอมแลกคุณค่านั้นด้วยเงิน (โดยที่ยังไม่จำเป็นต้องทำโปรดักส์ของจริง) อย่างเคส Dropbox ก็เป็นไปได้
ฉะนั้นช่วง Product-Market Fit หรือช่วงที่เราอยากทดสอบตลาดก่อนไปต่อนั้น MVP ก็เป็นอีกหนึ่งคอนเซ็ปท์ที่ถ้าคำนึงถึงบทบาทที่แท้จริงของมันได้ เมื่อตลาดทำงานเราก็เก็บ Feedback, วัดผล และจูนโปรดักส์อยู่เรื่อยๆ จะทำให้เราลดความเสี่ยงที่จะเจ็บตัวเวลาที่โดนตลาดตบคว่ำมาได้มาก ถ้าเวิร์คก็ไปต่อ ถ้าไม่เวิร์คเราก็จะได้เอาเวลาไปเปลี่ยนโฟกัส หรือ Pivot ไปยังสิ่งที่ดูมีความเป็นไปได้อันต่อไป อย่างรวดเร็ว
จำไว้ว่า